หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
เทศบาลเมืองสุโขทัยธานี ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
หน้าหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลหน่วยงาน
บุคลากร
บุคลากร
การบริหารบุคคล
การบริหารบุคคล
ข่าวสาร
ข่าวสาร
แผน
แผน
รายงานและติดตามประเมินผล
รายงานและติดตามประเมินผล
ระเบียบ
ระเบียบ
บริการประชาชน
บริการประชาชน
เทศบาลเมืองสุโขทัยธานี
 
 
Hot News
ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ เทศบาลเมืองสุโขทัยธานี อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ค่ะ
 
ประวัติความเป็นมา
 
ประวัติหน่วยงาน
 
 
เทศบาลเมืองสุโขทัยธานี ถือกำเนิดขึ้นมาในปีพุทธศักราช 2480 โดยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี จังหวัดสวรรคโลก (อำเภอสวรรคโลกในปัจจุบัน) และได้ทรงประกาศให้จัดตั้งเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2480 โดยให้ตั้งอยู่ ณ ตำบลธานี อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสวรรคโลก ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2482 ทางการได้ยุบจังหวัดสวรรคโลกมาเป็นจังหวัดสุโขทัย
  ส่วนจังหวัดสวรรคโลกมีฐานะเป็นอำเภอชั้นเอกของจังหวัดสุโขทัยปัจจุบันนี้ ขณะนั้นเทศบาลฯ มีพื้นที่ 1.1 ตารางกิโลเมตร ต่อมามีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาล เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2509 เป็นพื้นที่ประมาณ 3.5 ตารางกิโลเมตร (คือพื้นที่ปัจจุบัน) เมื่อเริ่มตั้งเทศบาลฯ ขึ้นนั้น พระศิริสมารังค์ (จ่าง จันทนจินดา) เป็นนายกเทศมนตรีคนแรกของเทศบาลแห่งนี้ โดยดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2482 จึงพ้นจากตำแหน่งนายกเทศมนตรี และได้มีคณะเทศมนตรีรุ่นต่อๆ มาเข้ามาบริหารและสร้างความเจริญให้แก่ท้องที่เทศบาลแห่งนี้ สำหรับตัวอาคารสำนักงานเทศบาลนั้น เมื่อแรกเริ่มตั้งเทศบาลขึ้นครั้งแรก ยังไม่มีตัวสำนักงาน ได้อาศัยศาลารมย์ซึ่งตั้งอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดสุโขทัย ริมถนนนิกรเกษม เป็นสำนักงานเทศบาล โดยใช้ไม้ตีฝากั้นเป็นห้องๆไป ได้ทำงานอยู่ ณ ที่นี้ 1 ปีเศษ ในปี พ.ศ. 2482 ทางราชการได้สั่งปิดโรงเรียนจีน (กวางตง) เทศบาลจึงได้ติดต่อผู้จัดการโรงเรียนกวางตง เพื่อขอยืมสถานที่โรงเรียน เป็นที่ทำงานของเทศบาล ซึ่งผู้จัดการโรงเรียนกวางตงยินยอมให้ใช้โรงเรียนกวางตงเป็นสำนักงานเทศบาลได้ จึงได้ย้ายสำนักงานมาเป็นครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2484 มาอยู่ ณ โรงเรียนกวางตง ทั้งนี้เพราะศาลารมย์นั้นคับแคบมาก สำนักงานเทศบาลตั้งอยู่ ณ โรงเรียนกวางตงได้ประมาณ 3 ปี ผู้จัดการโรงเรียนกวางตงก็ยื่นความจำนงจะขอสถานที่คืนเพื่อเปิดเป็นโรงเรียนต่อไป พอดีขณะนั้น นางตี๋ สุวรรณภาชน์ ได้มีจิตศรัทธาอุทิศบ้านไม้ชั้นเดียวแบบเรือนแพพื้นกระดาน ฝากระดาน จำนวน 1 หลัง ให้แก่เทศบาล เทศบาลจึงได้ดัดแปลงทำขึ้นใหม่ และกั้นฝาเป็นห้องในบริเวณที่ดินของเทศบาลด้านเหนือ และได้ย้ายสำนักงานจากโรงเรียนกวางตงมาอยู่ ณ สำนักงานแห่งใหม่นี้ ซึ่งเป็นการย้ายครั้งที่ 3 อาคารสำนักงานเทศบาลเมืองสุโขทัยธานีหลังที่ 3 สร้างในสมัย นายสวน สิงหชงค์ เป็นนายกเทศมนตรี เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ใต้ถุนสูง รื้อเพราะชำรุดทรุดโทรมมาก สำนักงานหลังนี้ ได้ใช้เป็นสำนักงานมาเป็นเวลา 14 ปีเศษ ตั้งอาคารก็ทรุดโทรมลงมาก ฝ้าและฝาก็ผุพัง ประกอบกับคับแคบลงเพราะกิจการของเทศบาลได้ขยายตัว และได้ปรับปรุงให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น จำนวนเสมียนพนักงานก็เพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ สถานที่จึงคับแคบไป ไม่สามารถที่จะจัดให้อยู่ในสภาพที่สวยงามและมีระเบียบได้ นายกเทศมนตรีคือ นายสวน สิงหชงค์ จึงได้คิดหาทางก่อสร้างตัวสำนักงานเทศบาลขึ้นมาใหม่ให้เป็น แบบทันสมัย ประจวบกับท่านผู้อำนวยการส่วนการปกครองท้องถิ่น คือ คุณสนิท วิไลจิตต์ ได้เดินทางไปตรวจราชการที่จังหวัดพิษณุโลก และผ่านมา จังหวัดสุโขทัย ได้เห็นสำนักงานเทศบาลอยู่ในสภาพเก่าและชำรุดทรุดโทรมมาก ซึ่งสถานที่ราชการไม่ควรอยู่ในสภาพเช่นนั้น ท่านก็รับรองที่จะให้เงินอุดหนุนเทศบาลมาสร้างตัวสำนักงานเทศบาลใหม่ ด้วยความปรารถนาที่จะเห็นเทศบาลเจริญขึ้น นายกเทศมนตรีก็ได้ติดตามเรื่อง ไปติดต่อกระทรวงมหาดไทย และทางกระทรวงก็ได้อนุมัติให้เงินอุดหนุนเทศบาล จำนวน 150,000 บาท เพื่อนำมาก่อสร้างสำนักงานเทศบาลใหม่ เทศบาลจึงได้ก่อสร้างตัวสำนักงานขึ้นใหม่เป็นอาคารไม้สองชั้น แบบมาตรฐาน เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2501 และได้สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2502 เมื่อได้อุดมฤกษ์จึงได้ย้ายสำนักงานหลังเก่ามาอยู่ ณ สำนักงานหลังใหม่ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2502 ส่วนหลังเก่า ได้รื้อถอนไป ในขณะเดียวกันทางกรมอนามัยก็ได้อนุมัติเงินจำนวนหนึ่ง เพื่อสร้างตัวอาคารสถานีอนามัยชั้น 1 เป็นสง่าเคียงข้างตัวสำนักงานเทศบาล ซึ่งนับว่าเป็นศุภนิมิตรอันดีที่ท้องถิ่นเทศบาลเมืองสุโขทัยธานีจะเจริญก้าว หน้ายิ่งขึ้นนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502 เป็นต้นมา อาคารหลังนี้ได้รับใช้เทศบาล มาจนถึง พ.ศ. 2546 เป็นเวลานานถึง 44 ปี แม้จะได้รับการปรับปรุง ดูแลรักษาเป็นอย่างดีก็ทรุดโทรม ทั้งคับแคบและไม่ปลอดภัยที่จะใช้งานต่อไป ต่อมาสภาเทศบาลมีมติให้ของบประมาณสร้างใหม่ เพื่อความเหมาะสมกับสภาวะการใช้งาน นับเป็นอาคารสำนักงานเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี หลังที่ 5 สร้างขึ้นบริเวณด้านหน้าอาคารสำนักงานเทศบาลฯหลังเก่า เป็นอาคารทรงไทย 4 ชั้นพื้นที่ใช้สอย 2,000 ตารางเมตร งบประมาณในการก่อสร้างจากเงินกู้กองทุนส่งเสริมกิจการเทศบาล จำนวน 13,500,000 บาท โดยห้างหุ้นส่วนจำกัด แสงอุปกรณ์พาณิชย์ เป็นผู้สร้าง ระยะเวลาการ ก่อสร้าง 330 วัน ได้จัดให้มีพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2546 โดยพระมงคลสุนทร (โถม กลยาโณ) วัดธรรมปัญญาราม อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย เจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย
 
ที่ตั้ง
 
 
เทศบาลเมืองสุโขทัยธานี ตั้งอยู่ในเขตตำบลธานี อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย มีพื้นที่ 3.5 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2,187.5 ไร่
ตามลักษณะภูมิศาสตร์จัดอยู่ในส่วนของภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย ตามแนวละติจูดที่ 17 องศาเหนือ 10 ลิปดา และลองจิจูด 99 องศาตะวันออก 48 ลิปดา ห่างจากกรุงเทพมหานครตามระยะทางหลวงแผ่นดิน ประมาณ 440 กิโลเมตร
 
ตราสัญลักษณ์
 
 
ตราสัญลักษณ์ของเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี เป็นรูปพระร่วงถือดาบ
และโล่ยืนอยู่บนแผนที่ประเทศไทย ออกแบบโดยกรมศิลปากร มีความหมายว่า พระร่วงหรือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ องค์ปฐมบรมกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย
มีพระบรมเดชานุภาพยิ่งใหญ่ สามารถปกครองแผ่นดินไทยให้ร่มเย็นเป็นสุข มีหลักที่เห็นในดวงตรา 4 หลัก หมายถึงพรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ซึ่งเป็นหลักในการปกครองประชาชนให้ได้รับความสุขสบายโดยทั่วหน้า จึงนับได้ว่าเป็นเทศบาลหนึ่งที่นำเอาประวัติศาสตร์มาเป็น ดวงตราของเทศบาล
 
จำนวนประชากร
 
   
จำนวนประชากรทั้งหมด 13,601 คน แยกเป็น
  ชาย  6,392 คน
  หญิง 7,272 คน
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 7,141 ครัวเรือน
ความหนาแน่นเฉลี่ย 3,886 คน/ตร.กม.
(ข้อมูลจากงานทะเบียนราษฏร์ ณ เดือนมิถุนายน 2566)
 
อาณาเขตติดต่อ
 
 
ทิศเหนือ ติดต่อกับ อบต.ปากแคว
ทิศใต้ ติดต่อกับ อบต.ยางซ้าย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อบต.บ้านหลุม
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เทศบาลตำบลบ้านกล้วย
 
อบต.ปากแคว
ทต.บ้านกล้วย
ชุมชนคลองตาเพชร
ชุมชนประชาร่วมใจ
ชุมชนราชธานี
ชุมชนคลองโพธิ์
ชุมชนคูหาสุวรรณ
ชุมชนตาลเดี่ยว
ชุมชนบางแก้ว
ชุมชนพระแม่ย่า
ชุมชนร่วมพัฒนา
ชุมชนเลอไท
ชุมชนวังหิน
ชุมชนวิเชียรจำนงค์
อบต.บ้านหลุม
อบต.ยางซ้าย
 
 
 
บริการประชาชน
การจัดการองค์ความรู้ (KM)
 
 
 
 
 
 
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
ในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
INTEGRITY AND TRANSPARENCY ASSESMENT SYSTEM
 
 
การประเมินประสิทธิภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
LOCAL PERFORMANCE ASSESSMENT